วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 10 ศาสนาที่สำคัญในประเทศไทย

1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Hinduism) เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900ล้านคน

ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป  อ่านต่อ

บทที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า สัมพันธ์หรือ ผูกพันซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ อ่านต่อ

บทที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

1. หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร

          พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ
1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง
เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด
2. พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง  อ่านต่อ

บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

 ๑)  พระอุบาลี       
   พระอุบาลี  เป็นบุตรช่างกัลบก  (ช่างตัดผม)  อาศัยอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้นก็ได้เป็นพนักงานภูษามาลา  (ช่างตัดผม)  ประจำราชสำนักพระเจ้าศากยะ
ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ได้ออกบวชด้วยกัน   องค์ 

บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

  พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เน้นเรื่อง การฝึกควบคุมการ วาจาและจิตใจไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าเมื่อกาย วาจา สงบนิ่ง และควบคุมจิตให้สนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมา การควบคุมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เรียกว่า ศีล การควบคุมจิตให้สนใจสนใจเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า สมาธิ ความรู้ ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง เรียกว่า ปัญญา ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา กล่าวเฉพาะสมาธิและปัญญา พระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีควบคุมที่เรียกว่า การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ไว้หลายวิธี อ่านต่อ

บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

  พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

         ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริง 
อ่านต่อ

บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บังเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในโลกนี้  ให้หลุดพ้นจากความทุกข์  เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นกลุ่มในสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรือง  เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีพ   แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความไม่สงบขาดความมั่นคงด้าน
จิตใจ  ขาดหลักที่พึ่งทางใจทำให้มีปัญหาต่อการดำรงชีวิตของตนเองและส่วนรวม

            หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งที่สอนให้มนุษย์มีหลักที่พึ่งทางใจ  และมีแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่จะทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต  อันจะทำให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกันในสังคมด้วยความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า  อ่านต่อ

บทที่ 3 วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

 ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
๑.วันมาฆบูชา
      มาฆบูชา เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ โดยปกติวันมาฆบูชาจะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระธรรม” 

บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

   พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้นยืนยันว่าจะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน อ่านต่อ

บทที่ 1 ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ โดยมิได้ทรงสร้างขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น การบรรลุธรรมด้วยตนเองโดยอบธรรม โดยคนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะคำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้หรือ ผู้รู้สัจธรรม การที่พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เหมาะสมกับบุคคลทุกระดับชั้นและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้เอง จังเป็นที่ยอมับกันโดยทั่วไปว่ามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง  อ่านต่อ